เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถ อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผักต่อเรา
และสิ่งมีชีวิตอื่น พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
|
โจทย์
:
ประโยชน์และโทษ
Key Question
-นักเรียนคิดว่าผักมีประโยชน์และโทษต่อเรา
และสิ่งมีชีวิตอื่นหรือไม่ เพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผัก
Think Pair Share: ประโยชน์และโทษของผัก
Blackboard Share : การประกอบอาหารเมนูจากผัก
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทาน เรื่อง “มะละกอข้างครัว /
อาหารวิเศษ”
- คลิปวิดีโอประโยชน์ของ
สิ่งมีชีวิต
- แปลงผัก
|
วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
-
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูเปิดคลิปวิดีโอประโยชน์ของ
สิ่งมีชีวิตให้นักเรียนดู เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของผัก
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร?”
“นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้จากการดูคลิปวิดีโอไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปวิดีโอและการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเอง
ใช้:
นักเรียนทำใบงานเขียน web ประโยชน์ของผัก
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง:
-
ครูเล่านิทานเรื่อง “มะละกอข้างครัว” เพื่อให้นักเรียนได้เชื่อมโยงถึงประโยชน์ของผัก
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร?”
“นักเรียนคิดว่าถ้าเราไม่ทานผักจะเกิดอะไรขึ้น”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง “มะละกอข้างครัว”
และผลจากการไม่กินผัก
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าผักมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นหรือไม่ อย่างไร?”
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันผักเป็นรูปที่ตนเองชอบ
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง:
-
ครูและนักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกม “ตามหาผัก”
-
ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มต่อครู 1 คนให้ไปตามหาผักชนิดต่างๆรอบบริเวณภายในโรงเรียน
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้พบกับผักชนิดใดบ้าง” “ผักแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร”
“นักเรียนคิดว่าถ้าเราไม่กินผักจะเกิดอะไรขึ้น”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นจากการเล่นเกมตามหาผัก
ใช้ :
นักเรียนพิมพ์ภาพจากผัก
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง:
-
ครูเล่านิทานเรื่อง”อาหารวิเศษ” และครูกระตุ้นด้วยคำถาม
- “นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากการฟังนิทาน”
“ถ้านักเรียนไม่รับประทานอาหารคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของตัวเอง”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานอาหาร
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตอื่นจะรับประทานอาหารเหมือนกับคนหรือไม่”
ใช้ :
นักเรียนแตก
web ประโยชน์และโทษของการไม่รับประทานทานอาหาร
วันศุกร์ ( 1
ชั่วโมง)
ชง :
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร
เชื่อม:
-
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนำเสนอชิ้นงานประโยชน์และโทษของการไม่รับประทานอาหาร
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของการไม่รับประทานอาหาร
|
ภาระงาน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผักรวมทั้งเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
- ร่วมเล่มเกม
“ตามหาผัก”
ชิ้นงาน
-ใบงานเขียน web
ประโยชน์/โทษของผัก
-พิมพ์ภาพจากผักชนิดต่างๆ
|
ความรู้ :
นักเรียนสามารถ อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผักต่อเรา และสิ่งมีชีวิตอื่น
พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
-
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สังเกตลักษณะของพืชผัก
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม
ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ
มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
-
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
ภาพตัวอย่างกิจกรรม
ภาพตัวอย่างชิ้นงาน
ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์นองผักในวันจันทร์ครูเล่านิทานผักและผลไม้ ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง นักเรียนออกไปสังเกตและดูแลแปลงผักที่ปลูกไว้ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง ทำไมใบของพี่ผักถึงมีรู” น้องพลอย : เพราะว่าหนอนกินค่ะ น้องกร : พี่หอยทากกินครับ หลังจากที่นักเรียนสังเกตผักแล้วก็กลับเข้ามาในห้องเพื่อทำชิ้นงาน วาดภาพแปลงผัก วันอังคารครูเล่านิทานเรื่อง มะละกอข้างครัว ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟังจากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าผักมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไร” น้องแสตม์ : ผักทำให้ร่างกายแข็งแรงครับ น้องใบพลู : พี่ผักทำให้เราโตค่ะ น้องข้าวหอม : พี่ผักมีวิตามินซีค่ะ น้องหนูดี : ทำให้เราขับถ่ายง่ายค่ะ นักเรียนทำใบงานแตก web ประโยชน์ของผัก ในวันพุธนักเรียนได้เรียนรู้การทำอาหารกับผู้ปกครองซึ่งในสัปดาห์นี้เป็นผู้ปกครองอาสาอาหารแห่งรักกลุ่มสุดท้าย เป็นการแบ่งปันพี่อนุบาล 2 ในวันนี้นักเรียนยังได้ปลูกผักในกระถางของตัวเองซึ่งเป็นการผู้ผักที่เรียนรู้จากครั้งแรกที่ผักเกิดแล้วตาย ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการดูแลผักของตัวเองอย่างไร” น้องจินจู : ไม่รดน้ำเยอะค่ะ น้องไดมอนด์ : กางมุ้งให้พี่ผักครับ น้องอิม : เราต้องรดน้ำผักทุกวันค่ะวันพฤหัสบดี ครูเล่านิทานเรื่อง “ความลับของต้นไม้วิเศษ” ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์ของผัก และสิ่งมีชีวิตอื่น ในวันนี้นักเรียนได้ทำการ์ดวันพ่อ วันศุกร์นักเรียนได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษและ PBL วันนี้นักเรียนได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ
ตอบลบ