เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น
และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้เกี่ยวกับผัก โดยให้เหตุผลอ้างอิง
เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
|
โจทย์ :
เลือกหัวข้อ
- สิ่งที่รู้แล้ว
-
สิ่งที่อยากเรียนรู้
Key Questions
-
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?
ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้ ?
- นักเรียนรู้อะไรและอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับผัก?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
-
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบเห็นจากการเดินสำรวจและฟังนิทาน
- ระดมความคิดเห็นชื่อหน่วย
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
Card & Chart : เรื่องที่รู้แล้วและเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Blackboard Share :
- แสดงความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการตั้งชื่อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศภายในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อไม้เลื้อยหาบ้าน
- แปลงผัก
|
วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจแปลงผักภายในบริเวณโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
“นักเรียนรู้จักผัก ชนิดใดบ้าง พบเจอที่ไหน/รสชาติเป็นอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของผักที่พบเห็น
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
“
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของผักที่เก็บมาจากการเดินสำรวจภายในโรงเรียน
ใช้:
นักเรียนวาดผักหรือสิ่งที่พบเห็นจากการเดินสำรวจ
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง:
ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “กินผักผลไม้”
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “รู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้? ” “ถ้าเราไม่กินผักจะเกิดอะไรขึ้น”
- ครูนำผักบุ้งที่ปลูกไว้มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
มีลักษณะอย่างไร ” “นักเรียนรู้จักผักอะไรบ้าง”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเพลง “กินผักผลไม้” โดยการอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพประกอบเพลง
“กินผัก ผลไม้”
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง:
ครูเล่านิทาน เรื่อง “ไม้เลื้อยหาบ้าน ” เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในเรื่องของผักมากขึ้น
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับอะไรบ้าง? ” “เมื่อฟังแล้วนักเรียนนึกถึงพืชชนิดใดบ้าง เพราะเหตุใด”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับผัก
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็นผักที่ตนเองชอบ
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง:
- ครูนำผักบุ้งมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามเช่น
“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง? ”
“นักเรียนคิดว่านอกจากผักบุ้งที่เราปลูกแล้วเราจะปลูกผักอะไรได้อีกบ้าง”
“นักเรียนอยากรู้อะไรเกี่ยวกับผักบ้าง”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
ใช้ :
นักเรียนร่วมกันปลูกผักชนิดต่างๆ
เช่น ผักบุ้ง ผักชี ผักคะน้า
ผักกวางตุ้ง ผักกาด
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร
เชื่อม:
-
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอชิ้นงาน
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ให้เพื่อนฟังเป็นรายบุคคล
|
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วยร่วมกัน
-
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง “ไม้เลื้อยหาบ้าน”
- ทดลองปลูกผัก
- นำเสนอชนิดของผักและสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
-
วาดภาพผักหรือสิ่งที่พบเห็นจากการเดินสำรวจรอบๆบริเวณโรงเรียน
- วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- วาดภาพอุปกรณ์ในการปลูกผัก
|
ความรู้ :
นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น
และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้เกี่ยวกับผัก โดยให้เหตุผลอ้างอิง
เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ
ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
-
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
- สังเกตแปลงผัก สิ่งมีชีวิตรอบๆบริเวณภายในโรงเรียน แล้วอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-
สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตแล้วอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม
ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
- ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ
มีน้ำใจช่วยเหลือ และแบ่งปัน
-
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
ภาพตัวอย่างกิจกรรม
ภาพตัวอย่างชิ้นงาน
สิ่งที่รู้แล้ว
|
สิ่งที่อยากเรียนรู้
|
- ผักกาด
-
ผักคะน้า
-
ผักบุ้ง
-
ถั่วฝักยาว
-
ยอดผักปัง
-
ยอดฝักทอง
-
วอเตอร์เครท
-
กระถิ่น
-
แปะตำปึง
-
มะเขือเทศ
-
เห็ด
-
สะเดา
-
ว่านกาบหอยแครง
-
พริก
-
ผักชีลาว
-
ใบชะพลู
-
ผักแป้น (กุยช่าย)
-
แมงลัก
-
ผักกระเฉดน้ำ
-
มะตูมมาเล
-
ผักกรูด
-
ถั่วพู
-
อัญชัน
-
กระชาย
-
บวบ
-
ใบมะกรูด
-
ต้นข่า
-
ตะไคร้
-
มะนาว
-
ดอกแค
-
พริก
-
แตงกวา
-
บล็อคโคลี่
|
-
ทำไมต้องกินผัก
-
ทำไมผักถึงกินได้
-
ทำไมต้องปลูกผัก
-
ถ้าไม่กินผักจะเป็นยังไง
-
กินผักแล้วเราจะขาวไหม
-
ทำไมถึงทานผัก
-
กินผักแล้วจะเป็นยังไง
-
ทำไมพี่ผักถึงแตกต่างกัน
-
ทำไมพี่ผักถึงเหมือนใบไม้
-
ทำไมคนโตๆต้องกินผักเยอะๆ
-
ทำไมพี่ใบไม้กินไม่ได้
-
อยากรู้ว่าพี่เห็ดกินได้ไหมครับ
-
ทำไมพ่อต้องปลูกผัก
-
อยากรู้ว่าผักชนิดไหนเกิดไม่ได้
-
ทำไมพี่ผักถึงต้องโต
-
ทำไมต้องกินผักเยอะๆ
-
ทำไมผักมีสีม่วง
-
ทำไมต้องกินแตง
-
ทำไมต้องกินพี่พริก
-
ทำไมต้องกินผักบุ้งค่ะ
-
ทำไมถึงไม่กินผักไม่ได้
-
อยากรู้ว่าทำไมผักกะหล่ำถึงกินได้
|
ในสัปดาห์นี้น้องอนุบาล 1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผักในเรื่องต่างๆจากการสำรวจในบริเวณรอบๆโรงเรียนโดยแบ่งเป็นสามกลุ่มกลุ่ม 1 ไปในส่วนของอาคารพี่มัธยม กลุ่ม 2 ไปฝั่งฟาร์ม และกลุ่มที่ 3 ไปฝั่งโรงอาหารใหญ่ แต่ละกลุ่มจะได้ทำกิจกรรมคือการไปสำรวจผักแล้วเก็บผักที่รู้จักมาให้เยอะที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตผักชนิดต่างๆ ชิมผักแต่ละชนิด และนำกลับมาเล่าให้เพื่อนฟังว่าได้เจอผักอะไรมาบ้าง นักเรียนตื่นเต้นกันมากค่ะ เดินไปเจอต้นไม้ก็จะถามครูว่าผักอะไรครับนักเรียนรูจักผักหลายชนิด
ตอบลบน้องพลอยหนูรู้ค่ะนี่ผักยี่หล่า
น้องออม อันนี้ผักแป้นค่ะ
น้องฮิว คุณครูครับน้อยเห็นผักยาวๆ (ยอดผักปัง)
น้องข้าวหอม คุณครูอันนี้ผักอะไรค่ะกินได้ไหม จากที่ได้สังเกตนักเรียนมีความสนใจที่อยากจะชิมผัก ในวันพุธมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสามาทำอาหารแห่งรักในสัปดาห์นี้เป็นผู้ปกครองของกลุ่มแมว นักเรียนกลุ่มไก่ได้ออกไปเรียนรู้การทำอาหารกับผู้ปกครอง ส่วนนักเรียนกลุ่มที่เหลือปั้นดินน้ำมันผักที่ชอบอยู่ในห้อง
วันพฤหัสบดีนักเรียนร่วมกันวาดภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผัก ทำป้ายชื่อของตัวเองครูและนักเรียนได้สังเกตผักบุ้งที่ปลูกไว้แล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับผัก นักเรียนยังได้ปลูกผักคนละหนึ่งกระถางแล้วดูแลกระถางผักของตัวเองทุกคนดูตื่นเต้นก่อนที่จะปลูกครูและนักเรียนได้ช่วยกันคิดว่าอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกผักมีอะไรบ้าง ในช่วงนักเรียนเล่นที่สนามครูก็จะพานักเรียนปลูกผักเป็นกลุ่มในกล่องนมมัดไว้กับต้นไม้ช่วยทำให้บรรยากาศรอบๆตึกน่าสนใจขึ้น
น้องอ๋อม ใส่ดินค่ะ
น้องฮิว มีบัวรดน้ำ
น้องแสตม์ ใส่เมล็ดครับ
น้องหนูดี ใส่กระถ่างค่ะ
น้องสาว มีป้ายค่ะ
ในทุกๆวันหลังทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วจะมีนักเรียนนำบัวใส่น้ำมารดน้ำผักที่ปลูกไว้และต้นไม้ที่อยู่รอบๆตึก ในวันศุกร์นักเรียนนำเสนอเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนทุกคนทำได้ดีมากค่ะ